วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โตเกียวขยับขึ้นติดท็อป 3 ในการจัดอันดับเมือง GPCI 2016 โดยที่ลอนดอนและนิวยอร์กติด 2 อันดับแรกและปารีสตกไปอยู่อันดับที่ 4




โตเกียว - Institute for Urban Strategies ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยซึ่งก่อตั้งโดย Mori Building ของ The Mori Memorial Foundation เปิดเผยรายงาน Global Power City Index (GPCI) ประจำปี 2016 รายงานนี้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2008 โดยได้ประเมินและจัดอันดับเมืองใหญ่ 42 เมืองโดยอ้างอิงจาก “การเป็นแม่เหล็กดึงดูด” หรือวัดจากอำนาจภาพรวมของเมืองนั้นๆ ในการดึงดูดผู้คนและองค์กรที่มีความสร้างสรรค์จากทั่วโลก 



การจัดอันดับ 42 เมืองและการจัดอันดับแบบเฉพาะเจาจงที่ติดท็อป 10 (กราฟิก: บิสิเนส ไวร์) 

รายงานเผยว่าโตเกียวได้ติดอันดับ 1 ใน 3 เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ติดอันดับ 4 มาตลอดหลายปี โดยได้การประเมินในแง่บวกในเรื่องของวัฒนธรรม ความเหมาะสมในการอยู่อาศัย และการเข้าถึง ซึ่งช่วยให้คะแนนการประเมินเพิ่มขึ้นมาก ลอนดอนยังคงเป็นเมืองอันดับต้นๆ เป็นปีที่ 5 แม้คะแนนรวมจะลดลงก็ตาม นิวยอร์กยังติดอันดับ 2 คงที่เป็นปีที่ 5 เช่นกัน ปารีสตกจากอันดับ 3 เป็นอันดับ 4 เนื่องจากการลดลงในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมรวมถึงด้านการวิจัยและการพัฒนา ซึ่งการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วมีส่วนในการทำให้ตกอันดับ 

ไฮไลท์สำคัญ



โตเกียว (ภาพ: บิสิเนส ไวร์) 

• โตเกียวครองอันดับ 3 แทนปารีส โดยมาจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงภาษีองค์กรที่ลดลงในญี่ปุ่น การเพิ่มจำนวนของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินที่บินตรงจากจุดหมายปลายทางต่างๆ การอ่อนตัวของค่าเงินเยนก่อให้เกิดผลกระทบแง่ลบต่อ GDP ของโตเกียวเมื่อเป็นเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม โตเกียวยังคงครอง GDP อันดับสูงสุดใน 42 เมืองนี้ คะแนนในเรื่องของความเหมาะสมในการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากการที่ค่าบ้านและค่าใช้ข่ายในการดำเนินชีวิตทั่วไปในโตเกียวลดลง (เมื่อกล่าวเป็นดอลลาร์สหรัฐ)

• ลอนดอนได้คะแนนลดลงเนื่องจาก GDP การเติบโตของ GDP รวมถึงการเติบโตทางเศรฐกิจโดยรวมที่ลงดลง อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีความแข็งแกร่งในด้านวัฒนธรรม โดยมี นักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษาจากต่างประเทศให้ความสนใจมากขึ้น จึงทำให้เมืองหลวงนี้ยังคงเป็นผู้นำ (หมายเหตุ: การวิจัยนี้ขึ้นกับข้อมูลที่รวบรวมก่อนโหวต Brexit ในเดือนมิถุนายน 2016)

• ในอเมริกาเหนือ นิวยอร์กไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยยังคงเป็นอันดับ 2 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงด้านวัฒนธรรม ลอส แอนเจลิสขยับจากอันดับ 14 เป็น 13 โดยได้คะแนนสูงจากด้าน การวิจัยและพัฒนา รวมถึงด้านวัฒนธรรม ซานฟรานซิสโก ชิคาโก บอสตันและวอชิงตันดีซี อยู่อันดับที่ 24, 25, 27 และ 29 ตามลำดับ

• ในยุโรป ปารีสได้คะแนนด้านวัฒนธรรมที่น้อยลง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงซึ่งรวมถึงนักเรียนนักศึกษาต่างชาติ เหตุจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วทำให้นักท่องเที่ยวคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้น ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ปารีสตกมาอยู่อันดับที่ 4 สำหรับการจัดอันดับโดยรวม เบอร์ลินตกอันดับจาก 8 เป็น 9 โดยอัมสเตอร์ดัม ในขณะที่เวียนนาและแฟรงค์เฟิร์ตยังคงอยู่อันดับ 10 และ 11 ตามลำดับ

• ในเอเชียแปซิฟิค สิงคโปร์ยังคงเป็นอันดับ 5 แม้จะมีคะแนนโดยรวมลดลง ซึ่งเกิดจากสัญญาณด้านเศรษฐกิจ ทำให้การเติบโต GDP ลดลงและมีการจ้างงานที่ลดลงด้วย เซี่ยงไฮ้ไต่อันดับจาก 17 มาที่ 12 ซึ่งได้คะแนนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากทุกด้าน ซิดนีย์ตกลง 2 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 14 โซลและฮ่องกงอยู่อันดับที่ 6 และ 7 ในขณะที่ปักกิ่งขึ้นมา 1 อันดับมาอยู่ที่ 17 กัวลาลัมเปอร์ ไทเป และกรุงเทพ อยู่อันดับที่ 32, 33, 34 ตามลำดับ



(กราฟิก: บิสิเนส ไวร์) 

สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mori-m-foundation.or.jp/english/ius2/gpci2/index.shtml

“ผลด้านบวกของโตเกียวเกิดจากการปฏิรูปหลายด้านซึ่งเป็นส่วนของนโยบาย National Strategic Economic Zone รวมไปถึงอิทธิพลจากปัจจัยเศรษฐศาสตร์จุลภาคและอะเบะโนมิกส์” Heizo Takenaka ประธาน Institute for Urban Strategies, The Mori Memorial Foundation กล่าว “การผ่อนคลายในกฎระเบียบการค้ามากขึ้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โตเกียวติดอันดับ 3 และช่วยโตเกียวในการตั้งเป้าในการจัดอันดับในอันดับที่สูงขึ้นในการเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปี 2020”

ดร. Hiroo Ichikawa กรรมการบริหารของ The Mori Memorial Foundation กล่าวว่า “ลอนดอนยังคงอยู่อันดับต้นก็จริง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการโหวตที่ออกจาก EU จะส่งผลกระทบอะไรต่อตำแหน่งของเมืองนี้ในอนาคตบ้าง”

สำหรับคอมเมนท์ท่านอื่นๆ สามารถศึกษาได้ที่: http://www.mori-m-foundation.or.jp/english/ius2/gpci2/index.shtml#comments2

(ซึ่งรวมถึงคอมเม้นท์จากผู้ว่าโตเกียว Yuriko Koike, นายกเทศมนตรีของลอนดอน Sadiq Khan, นายกเทศมนตรีของเกาหลี Park Won-Soon, และนายกเทศมนตรีของอัมสเตอร์ดัม Eberhard van der Laan)

Institute for Urban Strategies ของ The Mori Memorial Foundation ได้จัดทำรายงานประจำปี GPCI ตั้งแต่ปี 2008 โดยขึ้นกับการประเมินจากคุณสมบัติ 70 อย่างใน 6 หมวด คือด้านเศรษฐกิจ R&D วัฒนธรรม ความเหมาะสมในการอยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงได้ โดยวิเคราะห์จากจุดแข็งและจุดอ่อนของเมืองใหญ่ต่างๆ ในโลกที่มีความแข่งขันสูง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ www.mori-m-foundation.or.jp/english/aboutus2/index.shtml#about_strategies



(กราฟิก: บิสิเนส ไวร์)