ปัญหามลภาวะฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่ปัญหาใหม่
แต่เป็นวิกฤตประจำปีที่อยู่คู่ประเทศไทยมาแล้วหลายปี
ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดฝุ่น PM2.5
ส่วนใหญ่มาจากการเผาพื้นที่การเกษตรหลังฤดูเก็บเกี่ยว โรงงานอุตสาหกรรม
ไปจนถึงการสันดาปของยานยนต์บนท้องถนน
ประกอบกับสภาวะความกดอากาศสูงในช่วงฤดูหนาวที่ทําให้เกิดภาวะอากาศปิด
จนเกิดปรากฏการณ์ “ฝุ่นคลุมเมือง” ต่อเนื่องในช่วงต้นปี
ปัญหา PM2.5 ในเมืองไทยทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี
ด้วยการขยายตัวของพื้นที่การเกษตรเชิงเดี่ยวและจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมและรถยนต์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
เห็นได้จากข้อมูลของ IQAir แอปพลิเคชันรายงานสภาพอากาศโลกในช่วงเดือนมกราคม 2568
ซึ่งชี้ว่า ค่าดัชนีฝุ่น PM2.5 ของไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
อยู่ในระดับรุนแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่องกันหลายวัน (ดัชนีฝุ่นเกิน
100-200 AQI) จนทำให้กรุงเทพฯ ติดอันดับ Top10 เมืองที่มีอากาศแย่ที่สุดในโลก
และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนในวงกว้าง1
งานวิจัยทางการแพทย์2 ยังแสดงให้เห็นว่า ฝุ่น PM2.5
คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เยื่อบุจมูกเกิดการระคายเคือง นำไปสู่อาการไอ
จาม และเกิดภาวะภูมิแพ้รุนแรงในที่สุด
และอีกหนึ่งในโรคยอดฮิตของคนไทยในช่วงวิกฤตฝุ่นต้นปีก็คือไซนัสอักเสบ
ซึ่งเกิดจากการอักเสบและอุดตันของรูเปิดไซนัส ทำให้เกิดอาการปวดจมูก
ศีรษะและใบหน้า รวมไปปัญหาถึงการได้กลิ่นที่ลดลง
ซึ่งต้องอาศัยการดูแลรักษาตั้งแต่การใช้ยาปฏิชีวนะ
การรักษาด้วยสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือสเตียรอยด์ผสมน้ำเกลือล้างจมูก
ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตกลางแจ้งและต้องสูดฝุ่น PM2.5
เป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน จนเกิดอาการไอนาน 3-8 สัปดาห์ขึ้นไป
อาจนำไปสู่โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หรือที่ร้ายกว่านั้น หากฝุ่น PM2.5
เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจเกิดการอุดตันในหลอดเลือดและผนังหัวใจ
ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
และที่ร้ายที่สุดคือการลุกลามเป็นโรคปอดเรื้อรังและมะเร็งปอดในที่สุด3
โคเวย์ (COWAY) บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ซึ่งดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “Best Life
Solution Company”
ตระหนักดีถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้คน
จึงรณรงค์ให้ผู้คนปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อลดความเสี่ยงจากมลภาวะฝุ่น ดังนี้
- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น – โดยสวมหน้ากากมาตรฐาน N95 หรือ KN95 เท่านั้น เมื่อต้องออกจากบ้านไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นสูง
- หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน –โดยเฉพาะในวันที่ค่าฝุ่นสูง ควรตรวจสอบคุณภาพอากาศผ่านแอปหรือเว็บไซต์ที่แสดงดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI)
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด – เมื่ออยู่ในบ้าน ควรปิดประตู หน้าต่าง หรือใช้ผ้าปิดรูระบายอากาศที่อาจมีฝุ่นเข้าได้ เพื่อป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ – ช่วยลดฝุ่นอนุภาคเล็กภายในบ้าน เพื่อสร้างอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์และเสริมภูมิคุ้มกันจากภายใน
โดยโคเวย์เน้นย้ำถึงความจำเป็นของเครื่องฟอกอากาศมากที่สุด
เนื่องจากเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดในขณะที่เราอยู่ในบ้านตลอดเวลา
โดยนำเสนอบริการเครื่องฟอกอากาศในรูปแบบ Subscription
เพื่อมอบความคุ้มค่าสูงสุดแก่ลูกค้า
และยิ่งไปกว่านั้นคือความมั่นใจถึงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่อง
เนื่องจากมีทีมงาน CODY คอยเข้าไปดูแล ตรวจสอบการทำงานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
พร้อมซ่อมแซมฟรีตลอดอายุสัญญา
คุณจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถสูดอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่
และยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางวิกฤตฝุ่นในวันนี้
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูงเพื่อรับมือกับวิกฤตฝุ่น
PM2.5 และยังไม่ทราบว่าจะเลือกรุ่นไหน โคเวย์ขอแนะนำ 2
รุ่นยอดฮิตในเมืองไทยที่ลูกค้าให้ความนิยมสูงสุด จนต้องเติมสต็อกอย่างต่อเนื่อง
ได้แก่
o รุ่น COWAY Noble: โดดเด่นด้วยระบบกรองอากาศแบบ 6 ขั้นตอน
ผสานการใช้ฟิลเตอร์คุณภาพสูงถึง 5 ชั้น บวกกับการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี (UV
Sterilisation) ที่ช่วยขจัดมลภาวะทางอากาศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
พร้อมเทคโนโลยีการกรองแบบ 4D ครั้งแรกของโลกที่มอบอากาศสะอาดได้แบบ 360°
ผสานการใช้ฟิลเตอร์ Double HEPA
ในการดักจับเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายสายพันธุ์ต่าง ๆ
ที่แพร่กระจายในอากาศได้อย่างรวดเร็ว โดยมีประสิทธิภาพการดักจับสูงถึง 99.99%
o รุ่น COWAY Storm: มาพร้อมกับดีไซน์มินิมอลที่สวยสบายตาและเข้ากับทุกสเปซ มีพัดลมระบาย 3 ทิศทาง
นอกจากกรองฝุ่น PM2.5 ยังสามารถกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99%
รวมถึงเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยไส้กรอง HEPA Filter พร้อมมอเตอร์ทรงพลัง
จึงสามารถขยายขอบเขตการหมุนเวียนอากาศได้ไกลถึง 6 เมตร
ช่วยให้คุณหายใจได้ปลอดโปร่งโล่งสบายขึ้น บอกลาอากาศในบ้านที่แสนอึดอัดไปได้เลย
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์และติดตามข่าวสารล่าสุดจาก Coway
ได้ที่เว็บไซต์ www.coway.co.th หรือเฟซบุ๊ก
https://www.facebook.com/CowayThailandOfficial
ข้อมูลอ้างอิง
1 https://www.iqair.com/th-en/
2 https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-256?utm_source=chatgpt.com
และ
https://www.vejthani.com/th/2024/02/%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87-pm2-5/
3 https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/331093