ผลการทดลองทางคลินิกบ่งชี้ว่า LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแบบรุนแรงหรือการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ถึง 88% ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภายใน 3 วันหลังแสดงอาการ
ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่
ทิกซาเกวิแมบ (tixagevimab) และ ซิลกาวิแมบ (cilgavimab) หรือ LAAB
ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปของแอสตร้าเซนเนก้า
ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบมีเงื่อนไขในประเทศไทยให้นำมาใช้สำหรับการรักษาโควิด-19
ในผู้ใหญ่และวัยรุ่น (ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40
กิโลกรัม) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง
การอนุมัติยา LAAB
ของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อนำมาใช้สำหรับการรักษาโควิด-19
เป็นการอนุมัติเพิ่มเติมหลังได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบมีเงื่อนไขในประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน
2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19
ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
ทั้งในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ทั้งนี้
แอสตร้าเซนเนก้าจะทำการจัดหาและทยอยส่งมอบยา LAAB จำนวน 257,500 ยูนิต
ให้แก่ประเทศไทย ตามสัญญาการจัดซื้อซึ่งแอสตร้าเซนเนก้า และ กรมควบคุมโรค
ได้ร่วมลงนามในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า
“นับเป็นก้าวสำคัญที่ยา LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า
ซึ่งเป็นยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ทั้งสำหรับการป้องกันและการรักษาโควิด-19
ในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมาตรการการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19
แต่ประชากรจำนวนมากยังคงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ยา LAAB
จึงกลายเป็นทางเลือกที่จําเป็น
ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงแล้ว
ยังช่วยป้องกันการเกิดโรครุนแรงและการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อแล้วได้อีกด้วย”
จากผลลัพธ์ของการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3
ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการและได้รับยาภายในช่วง 3 วันแรก พบว่า ยา LAAB
สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง หรือเสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ) ได้ถึง 88%
เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) (95% ช่วงความเชื่อมั่น [CI] 9, 98)
และยังลดความเสี่ยงถึง 67% (95% ช่วงความเชื่อมั่น [CI] 31, 84)
ในกลุ่มที่ได้รับยา LAAB ภายใน 5 วันหลังแสดงอาการ1
จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด2
ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมสามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน
BA.4 และ BA.5 (ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในประเทศไทย) และสายพันธุ์อื่นๆ
ที่มี ณ ปัจจุบัน
LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า
ได้รับการอนุมัติใช้ในประเทศญี่ปุ่นและในสหภาพยุโรปทั้งสำหรับการป้องกันและการรักษาโควิด-19
แบบมีอาการ
และได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหราชอาณาจักรเพื่อใช้สำหรับการป้องกันโควิด-19
นอกจากนี้ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า
ยังได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาเพื่อนำมาใช้ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19
ในประเทศสหรัฐอเมริกา (อนุมัติการใช้ในกรณีฉุกเฉิน)
และได้มีการส่งมอบไปยังประเทศอื่นๆ หลายประเทศทั่วโลก
LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า
LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า เดิมรู้จักกันในชื่อ AZD7442
มาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2
ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์
และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563
โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน
เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 ในคนละจุด3
และถูกพัฒนาต่อโดย แอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life)
เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ
Complement ชนิด C1q ที่ลดลง4 โดยการขยาย half-life นั้น
สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป5-7จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่
3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส
(neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน6
และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ
antibody-dependent enhancement (ADE)
ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ8
เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq)
เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา
และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต
และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า
มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ
และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ
จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.co
และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca
อ้างอิง
1. Montgomery H, et al. Efficacy and Safety of Intramuscular
Administration of AZD7442 (Tixagevimab/Cilgavimab) for Early Outpatient
Treatment of COVID-19: The TACKLE Phase 3 Randomised Controlled Trial.
Lancet Respir Med. Published online June 7, 2022.
doi.org/10.1016/S2213-2600(22)00180-1.
2. AstraZeneca news release. Evusheld long-acting antibody combination
retains neutralising activity against Omicron variants BA.4 and BA.5,
according to new study from University of Oxford. Available at:
https://www.astrazeneca.com/media-centre/medical-releases/evusheld-long-acting-antibody-combination-retains-neutralising-activity-omicron-variants-ba4-ba5-according-new-study-university-oxford.html.
[Last accessed: June 2022].
3. Dong J, et al. Genetic and Structural Basis for SARS-CoV-2 Variant
Neutralization by a Two-Antibody Cocktail. Nat Microbiol.
2021;6(10):1233-1244. doi:10.1038/s41564-021-00972-2
.
4. Loo YM, et al. AZD7442 Demonstrates Prophylactic and Therapeutic
Efficacy in Non-Human Primates and Extended Half-Life in Humans. Sci
Transl Med. 2022;14(635):eabl8124.
5. Robbie GJ, et al. A Novel Investigational Fc-Modified Humanized
Monoclonal Antibody, Motavizumab-YTE, Has an Extended Half-Life in Healthy
Adults. Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 2013;57(12):6147.
doi:10.1128/AAC.01285-13.
6. Griffin MP, et al. Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of
MEDI8897, the Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal
Antibody with an Extended Half-Life, in Healthy Adults. Antimicrob Agents
Chemother. 2017;61(3).
7. Domachowske JB, et al. Safety, Tolerability and Pharmacokinetics of
MEDI8897, an Extended Half-Life Single-Dose Respiratory Syncytial Virus
Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody Administered as a Single Dose to
Healthy Preterm Infants. Pediatr Infect Dis J. 2018;37(9):886-892.
8. van Erp EA, et al. Fc-Mediated Antibody Effector Functions During
Respiratory Syncytial Virus Infection and Disease. Front Immunol. 2019;10
(MAR).