วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ระบบเปิดด้านออโตเมชัน ช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์ได้ตามเป้าหมาย



โดย นาตาลี มาร์คอตต์ ประธานฝ่าย Process Automation ทั่วโลก

เมื่อต้นปีนี้ ดิฉันได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับเมกะเทรนด์ 3 ประการ ได้แก่ ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงของคนทำงานในอุตสาหกรรม และการเดินหน้าไปสู่เทคโนโลยีระบบออโตเมชั่นที่เป็นมาตรฐานในระบบเปิด และในเดือนกันยายน ก็ได้หาจุดเชื่อมโยงระหว่าง ความยั่งยืนและการสร้างกำไรอย่างมีความรับผิดชอบ โดยในเดือนตุลาคม ก็ได้เขียนบล็อก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของคนทำงานในทั่วโลก ที่กำลังขับเคลื่อนไปสู่ธุรกิจใหม่ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของซัพพลายเชน รวมถึงเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้ใช้บริหารรับมือกับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ว่าได้อย่างไร

เมกะเทรนด์ เรื่องที่สาม เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้

เราทุกคนต่างประจักษ์ดีถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของคนทำงาน ที่หลักๆ แล้วมาจากแรงหนุนจากคนรุ่นที่ขับเคลื่อนการทำงานด้วยวัตถุประสงค์ ทั้งกลุ่มมิลเลนเนียล และคนรุ่น Gen Z (หรือ Zoomers) ที่ปัจจุบันคิดเป็น 40% ของคนทำงานในสหรัฐอเมริกา และเป็นคนยุคดิจิทัลรุ่นแรกที่ก้าวสู่การทำงาน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะได้เห็นว่าคนทำงานในรุ่นเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีและตอบสนองต่อเทคโนโลยีอย่างไร

ในขณะที่บทความจาก Forbes ชี้ชัดว่า คนทำงานอายุน้อยเหล่านี้ “ต้องการประสบการณ์การเชื่อมต่อในที่ทำงานแบบเดียวกับในชีวิตส่วนตัว อีกทั้งคาดหวังว่าจะสามารถเชื่อมต่อกับทีมงานผ่านระบบดิจิทัลในฟอร์แมตที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็ว” โดยสรุปคือ คนเหล่านี้คาดหวังว่าสิ่งต่างๆ จะดำเนินไปด้วยดี และต้องการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการในสไตล์ที่เข้ากับตัวเอง

ไม่ใช่เฉพาะแต่คนทำงานอายุน้อยที่คิดแบบนี้

สำหรับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ที่อีกไม่นานก็จะเกษียน หรือบรรดาเจนเอ็กซ์ ที่กำลังไปได้ดีกับสายอาชีพ คนทุกรุ่นในสายการทำงานที่หลากหลายขึ้นและมีมากขึ้นในปัจจุบัน ต่างพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของตน

โดยส่วนใหญ่ ทุกคนต่างได้เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในโลกเทคโนโลยีปัจจุบันกันอยู่แล้ว จึงไม่ได้สนใจเรื่องของเครื่องมือที่อยู่เบื้องหลัง แค่ต้องการโซลูชันที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายเท่านั้น

ใจความสำคัญก็คือ เราทุกคนจะเริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีระบบเปิดที่ประสานการทำงานร่วมกันได้ในชีวิตประจำวัน แต่ในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมปัจจุบันส่วนใหญ่ ยังทำแบบนั้นไม่ได้ สำหรับลูกค้าหลายราย เรื่องนี้ค่อนข้างน่าหงุดหงิดและมีค่าใช้จ่าย อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ไปสู่อุตสาหกรรมครั้งที่สาม ซึ่งก็คือการย้ายไปสู่ซอฟต์แวร์ออโตเมชั่นระบบเปิด และสภาพแวดล้อมการทำงานบนมาตรฐานระบบเปิด

คุณค่าของระบบเปิดที่ทำงานร่วมกันได้

แล้วลูกค้าของเราจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะเทคโนโลยีบางอย่างในโรงงานมีการติดตั้งมานานนับหลายปี หรือกระทั่งหลายสิบปีแล้วก็ตาม

คำตอบก็คือต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ควบคุมอุตสาหกรรมและส่วนประกอบต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยขึ้น ซึ่งการเปิดกว้างเพื่อการทำงานในระดับนี้ จะให้ฟังก์ชั่นงานทั้งหมดที่เราต้องใช้และต้องการใช้ ซึ่งบางอย่างอาจจะไม่เคยทำได้มาก่อน

ในสภาพแวดล้อมแบบปิด ที่ยึดติดกับเทคโนโลยีจากผู้จำหน่ายรายเดียว ทำให้เกิดข้อจำกัด ที่สามารถทำได้แค่การควบคุมบางอย่างตามฟังก์ชั่นการทำงานของเทคโนโลยีที่ผู้จำหน่ายมีมาให้เท่านั้น

ในขณะที่เทคโนโลยีระบบปิดซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมและเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำหน่ายรายนั้นๆ อาจดีมากสำหรับการช่วยควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินงานรูปแบบเดิมๆ ให้ความปลอดภัย ให้ประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือก็ตาม แต่มีข้อจำกัดสำหรับผู้ใช้ในเรื่องการดูแลและควบคุมความเสี่ยงทางธุรกิจในระดับที่สูงขึ้น อย่างเรื่องการคืนทุน ระยะเวลาในการสร้างรายได้และกระทั่งเรื่องของผลกำไร

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราก้าวสู่สภาพแวดล้อมการทำงานแบบเปิด เราจะสามารถทำสิ่งที่แตกต่างได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้มีมุมมองที่ดีขึ้น ควบคุมความเสี่ยงและปัจจัยแปรผันจากกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ เหล่านั้นได้ เรายังสามารถควบคุมเรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของคุณค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากเรื่องเดิมๆ และไม่ใช่แค่เรื่องคุณค่าทางการเงินแต่เพียงอย่างเดียว

เราภูมิใจที่จะบอกว่าชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เดินหน้าไปสู่ขั้นตอนที่สำคัญในเประเด็นดังกล่าว คุณอาจจะได้เห็นการประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการสร้าง Universal Automation.org ซึ่งเป็นสมาคมอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรรายใหม่ที่ทุ่มเทกับการบริหารจัดการในการนำระบบออโตเมชั่นด้านอุตสาหกรรมแบบ shared-source runtime มาใช้งาน

สอดคล้องตามข้อมูลจาก UniversalAutomation.org ที่ว่า “เทคโนโลยีการใช้งานร่วมกันในระดับใหม่ ให้พื้นฐานสำหรับระบบนิเวศของโซลูชันแบบ “plug and produce” ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และเป็นการสร้างหมวดหมู่ใหม่ในระบบออโตเมชั่นด้านอุตสาหกรรม” ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มดังกล่าว

ความมุ่งมั่นของเราในเรื่องระบบเปิดไม่ได้หยุดแค่ตรงนี้ เรายังคงทุ่มเทกับการเป็นสมาชิกที่มีส่วนร่วมในฟอรัม Open Process Automation Forum หรือ OPAF ที่เป็นกลุ่มของผู้ใช้ ซัพพลายเออร์ ผู้วางระบบ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานและภาควิชาการ ที่มีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน และมุ่งเน้นที่การร่วมพัฒนาสถาปัตยกรรมด้านกระบวนการอัตโนมัติที่เป็นมาตรฐานระบบเปิด ที่ทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัย

ระบบเปิดที่ให้ความยืดหยุ่นด้านกระบวนการอัตโนมัติ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ คือสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มผลกำไร โดยมาตรฐานระบบเปิดด้านกระบวนการอัตโนมัติ และระบบงานดังกล่าวจะช่วยตอบโจทย์เรื่องนี้ได้

Universal Automation ช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายได้สำเร็จ

ดิฉันอยากจะเน้นว่า UniversalAutomation.org และ OPAF ไม่ใช่คู่แข่ง หรือทางเลือกทดแทนระหว่างกัน จริงๆ แล้ว UniversalAutomation.org เป็นส่วนที่ช่วยเสริม OPAF และเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านกระบวนการออโตเมชั่นในระบบเปิดของ OPAF ในขณะที่ OPAF กำหนดนิยามเรื่องรูปแบบข้อมูลสำหรับระบบงานของกระบวนการอัตโนมัติ UniversalAutomation.org เองก็จะให้แพลตฟอร์มรันไทม์แบบอิสระที่ไม่ขึ้นกับผู้จำหน่ายรายใด ซึ่งโมเดล OPAFสามารถสร้างในรูปขององค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ IEC 61499 ที่สามารถดำเนินการบนแพลตฟอร์ม Universal Automation ทั้งหมดได้

แนวคิดทั้งหมดเกี่ยวกับ universal automation ที่เป็นมาตรฐานระบบเปิด นำไปสู่โลกใหม่ของซอฟต์แวร์และองค์ประกอบด้านออโตเมชั่นที่เน้นเรื่องสินทรัพย์ และสร้างบนมาตรฐาน IEC 61499 ในสภาพแวดล้อม universal automation แบบ plug-and-produce ที่คนทำงานสามารถใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการทำงานได้โดยไม่จำกัดค่ายผู้จำหน่าย ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสในการเปลี่ยนจากการควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินงานแบบเดิม ไปสู่การควบคุมเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายได้จริง เช่นในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างประสิทธิภาพด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงความยั่งยืน และ ฯลฯ

และเนื่องจาก universal automation ให้ศักยภาพด้านการนำแอปพลิเคชันมาติดตั้งและทำงานร่วมกันได้โดยไม่จำกัดค่าย จึงทำให้อุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ผู้ใช้จะมีความพร้อมมากขึ้นในเรื่องของการควบคุมตัวแปรใหม่ๆ ในการดำเนินงาน รวมถึงสามารถปรับการดำเนินงานและกลยุทธ์ด้านซัพพลายเชนเพื่อให้ตอบสนองต่อแรงกดดันและตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

อนาคตที่เปิดกว้าง

ในขณะที่ดิฉันรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งกับความสำเร็จของชไนเดอร์ อิเล็คทริคในการสร้างโลกใหม่ของ universal automation ระบบเปิด ซึ่งถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ สถาปัตยกรรมด้านกระบวนการอัตโนมัติในปัจจุบันสร้างความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อย่างดี โดยเป็นโมเดลที่ดิฉันใช้มานาน และให้ประสิทธิภาพที่ดีมาโดยตลอด

เราทุกคนสามารถภาคภูมิใจที่ได้บรรลุความสำเร็จในโมเดลและเฟรมเวิร์กด้านกระบวนการอัตโนมัติที่มีอยู่ หากลองคิดถึงอุตสาหกรรมที่ผ่านมา 30 ปี และนึกถึงจุดที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน จะเห็นถึงความก้าวหน้าที่น่าอัศจรรย์ แต่หากเราต้องการมุ่งสู่ก้าวสำคัญขั้นต่อไป และต้องการไปให้ถึงคำมั่นสัญญาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ เราต้องเปลี่ยนโมเดล

ด้วยเทคโนโลยีและโครงการเพราะบ่มของเรา โดยเฉพาะ EcoStruxure Automation Expert ซึ่งกลุ่ม ARC Advisory กล่าวขานว่าเป็น ถนนไปสู่ Universal Automation การที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำมาตรฐาน IEC 61499 มาใช้ และช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับกระบวนการอัตโนมัติที่ได้มาตรฐานระบบเปิด จึงเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพด้านวิศวกรรมในแบบเต็ม 100% ให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานเต็ม 100% อีกทั้งรองรับอนาคตได้เต็ม 100% เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังหมายถึงคนทำงานด้านอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จะสามารถควบคุมและสร้างประสิทธิภาพทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมอบผลลัพธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ซึ่งถ้าคุณสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับ universal automation และซอฟต์แวร์ออโตเมชันระบบเปิด สามารถอ่านข้อมูลใน white paper เพิ่มเติม และเข้าไปดูได้ที่ UniversalAutomation.org