วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

3 ภาคี แนะทาง “รุ่ง” อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล สวนกระแสลบวิกฤตโควิด




เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้แทนภาคเอกชน บริษัท ซินเจนทา ครอปโปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา จัดเสวนาออนไลน์ “เราจะฝ่าวิกฤต อ้อย และน้ำตาลไทยได้อย่างไร” แนะทางออก เอกชนและเกษตรกรผลิตตามมาตรฐานสากล เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิต เน้นประสานความร่วมมืออย่างรอบด้านระหว่างภาครัฐ โรงงานน้ำตาล และเกษตรกร รวมทั้ง นำนวัตกรรมเสริมศักยภาพเพื่อให้ผลผลิตสูงสุด อันนำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมอ้อยละน้ำตาลอย่างยั่งยืน

ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ข้อมูลล่าสุดปี พ.ศ. 2564 ของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (United States Department of Agriculture : USDA) พบว่า ภาพรวมคลังน้ำตาลในตลาดโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3 ล้านตัน จากเดิม 42.8 ล้านตัน เป็น 45.8 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณการบริโภคลดลง มีการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้นบางประเทศที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย รวมทั้ง ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำมากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

จากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมน้ำตาลและอ้อยของไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในตลาดโลก ภาคเอกชนและเกษตรกรจะต้องนำมาตรฐานสากลต่าง ๆ เช่น Bonsucro หรือ Fairtrade International และ Organic เข้ามาปรับใช้ตลอดกระบวนการ ให้สอดคล้องกับความต้องการแต่ละตลาด ตลอดจน จะต้องพัฒนาระบบบริหารการจัดการ เทคโนโลยีในการผลิต เก็บเกี่ยวและขนส่งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง ต้นทุนลดลงแต่กำไรเพิ่มมากขึ้น

ดร. ธวัช หะหมาน หัวหน้ากลุ่มพัฒนาด้านอ้อย น้าตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้าตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวสนับสนุนว่า ปัจจุบัน วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบต่อการส่งออกและการบริโภค ร่วมกับปัญหาสภาพภูมิอากาศและฤดูกาลแปรปรวน ส่งผลต่อการผลิตของชาวไร่อ้อย จะเป็นปัญหาหลักแล้ว แต่ยังมีวิกฤตอื่นที่เกษตรกรยังไม่สามารถจัดการได้ อาทิ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขาดเสถียรภาพและความมั่นคงในการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล ขาดแหล่งทุน ขาดแรงงาน และการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวทำให้เกิดมลพิษ ฝุ่น PM 2.5

ดังนั้น สอน. จึงแสวงหาหนทางก้าวข้ามวิกฤตต่าง ๆ โดยขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาแบบองค์รวม (BCG) ใน 3 มิติ ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปรับแก้ไขกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สนับสนุนอุตสาหกรรมโดยไม่ขัดแย้งกับข้อบังคับความร่วมมือในระดับนานาชาติ จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เครื่องจักร เพื่อส่งเสริมการผลิต พัฒนาความรู้ สร้างเครือข่าย และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้ง สร้างกลไก และสนับสนุนให้โรงงานน้ำตาลรับซื้อเศษซากใบ และยอดอ้อย และผลักดันธุรกิจที่ต้องการเชื้อเพลิงได้ใช้ เศษซากใบและยอดอ้อย อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นประสานความร่วมมืออย่างรอบด้านระหว่างภาครัฐ โรงงานน้ำตาล และเกษตรกร

นาย ผดุงพงศ์ เสริญไธสง ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ ซินเจนทา กล่าวว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมีบทบาทสำคัญต่อประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านการบริโภคน้ำตาลในประเทศแต่ละปี และส่งออก หัวใจสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาภาคการผลิตให้มีศักยภาพเพื่อให้ผลผลิตสูงสุด สอดล้องกับเป้าหมายของซินเจนทา ในการนำนวัตกรรมมาช่วยเหลือกระบวนการผลิต เพื่อลดความสูญเสีย ดูแล และกระตุ้นให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจัดการกับวัชพืช ที่เป็นศัตรูอ้อยที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดีจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงทันที ประกอบกับปัจจุบัน เกษตรกรประสบปัญหาวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชเดิม ทำให้ต้องผสมสารฯ หลายชนิดเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นวัตกรรมล่าสุดของซินเจนทา จึงได้แนะนำ “คาลารีส (Calaris)” ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์แคโรทีนอยด์และการสังเคราะห์แสงของวัชพืช มีประสิทธิภาพคุมวัชพืชได้นาน ไม่เป็นพิษต่ออ้อย นวัตกรรม “คาลารีส (Calaris)” จะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนด้านแรงงาน ไม่ต้องกำจัดวัชพืชบ่อยครั้ง เหมาะกับสภาวะปัจจุบันและอนาคตที่แรงงานในภาคเกษตรขาดแคลนจึงต้องนำนวัตกรรมมาใช้ และยังตอบโจทย์เพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลต่างๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ซินเจนทา กำลังวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่เพิ่มเติม ชื่อ โมดดัส (MODDUS) ซึ่งจะมาช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นด้วยการเพิ่มค่าโพล หรือ น้ำตาลซูโครสในอ้อย (Pol) ทำให้ผลผลิตอ้อยมีค่าน้ำตาลเพิ่มขึ้น หรือ ร่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น อันจะส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรให้เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ ทุก ๆ 1 ซีซีเอส (C.C.S.) หรือ ค่าร้อยละของน้ำตาลซูโครส จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 50 บาทต่อ 1 ตันอ้อย หรือคิดเฉลี่ยต่อไร่ จะได้เพิ่ม 500 บาท

“ทั้งหมดนี้ เป็นความมุ่งมั่นของ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ที่จะส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมอบรมให้ความรู้ เพื่อให้ภาคเอกชนและเกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการไร่อ้อยได้ดี มีผลผลิตที่คุ้มค่า โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง” ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ กล่าวทิ้งท้าย