วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เปิดวิชาการตลาดยุคใหม่ Mascot Branding สร้างแบรนด์ด้วยมาสคอต


“แบรนด์ในยุคนี้จะเป็นแค่คนไม่ได้ แต่แบรนด์ต้องผู้นำด้านความเชื่อ และต้องสื่อสารออกมาให้ชัดเจน”


สำหรับการสร้างแบรนด์นั้น ฟิลลิป คอตเลอร์ บิดาแห่งการตลาดสมัยใหม่ ได้ระบุแนวคิดที่น่าสนใจในหนังสือ Marketing 3.0 ไว้ว่า แบรนด์ในยุคปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่แค่ขายของ แต่ต้องนำเสนอ “คุณค่าที่ตรงกับจิตใจผู้บริโภค” และเป็นผู้นำด้านความเชื่อที่ดี และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมได้ จากเหตุนี้ทำให้แนวคิด Mascot Branding เริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้น

Mascot Branding คือการผสมผสานระหว่างศาสตร์แห่งการออกแบบมาสคอต และการสร้างแบรนด์ โดยสาระสำคัญคือการสร้างมาสคอตให้เป็นทูตแห่งการสื่อสารแบรนด์ (Brand Ambassador) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี่ให้เกิดขึ้นระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการสร้างให้เกิด Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์ อันนำมาสู่ผลสำเร็จทางธุรกิจในระยะยาว 




นายชินโตะ โอคูกาว่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เอเจนซีผู้ออกแบบสติกเกอร์ไลน์ และที่ปรึกษาสร้างแบรนด์ด้วยมาสคอตให้หลายองค์กรเอกชน และรัฐวิสาหกิจในไทย เผยว่า แนวคิด Mascot Branding มีมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยยังไม่ค่อยแพร่หลาย และยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง บริษัทส่วนใหญ่มักจ้างแค่ทีมออกแบบ พอได้มาสคอตมาก็ใช่แค่ออกสื่ออย่างไม่มีความหมาย สิ่งที่คือขาดการเล่าเรื่องมาสคอตเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจ และมีความรู้สึกร่วม




มาสคอตไม่ใช่แค่ตัวการ์ตูน แต่คือการสร้างมนุษย์คนหนึ่งตั้งแต่ (DNA Genesis)

ขั้นแรกของการสร้างมาสคอตต้องเริ่มจากหา DNA ซึ่งก็คือตัวตนที่แท้จริงภายในของมาสคอต ที่จะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่ง ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก บุคลิกภาพ น้ำเสียง ท่าทางการเดิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อยู่ๆ จะคิดขึ้นมาได้เลย แต่จะต้องอ้างอิงจาก Brand DNA ขององค์กรนั้นๆ อย่างเช่น แบรนด์ปั๊มน้ำมันบางแห่งเลือกที่ใช้สัตว์ที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาเป็นมาสคอต เพื่อที่จะสื่อถึงขุมพลังของน้ำมันคุณภาพสูง และความรวดเร็ว 

ต้องมีรูปลักษณ์ภายนอกที่คนเข้าถึงได้ (Appearance)

เมื่อต้องออกแบบมาสคอตให้เป็นตัวตนแบบเห็นภาพ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ สิ่งที่สำคัญคือมาสคอตตัวนั้นต้องมีรูปลักษณ์ที่เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และสะท้อนความเป็นแบรนด์ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วแบรนด์มักจะพลาดโดยการใส่ความเป็นแบรนด์ลงในมาสคอตมากเกินไปจนทำให้คนเข้าไม่ถึง และไม่รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์

เรื่องราวภูมิหลัง หล่อหลอมพฤติกรรม (Background Story)

เรื่องราวภูมิหลังที่เป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ และเป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมายของการมีชีวิต มาสคอตนั้นก็จำเป็นต้องมีภูมิหลังเช่นกัน เพราะจะทำให้ลูกค้าเข้าใจ คล้อยตาม และเอาใจช่วยมาสคอตตัวนี้ ให้เหมือนกับที่คนรู้สึกอินกับตัวละครในภาพยนตร์ 

ให้มาสคอตใช้ชีวิตเหมือนมนุษย์ และต้องเป็นผู้นำเทรนด์ (Trend Setter)

ยิ่งมาสคอตมีความสามารถเหมือนมนุษย์จริงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าถึงคนได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่การนำมาสคอตมายืนให้เด็กถ่ายรูปเล่นเท่านั้น แต่คือการให้มาสคอตได้ใช้ชีวิตเหมือนคนจริงๆ มีเฟซบุ๊ก มีอินสตาแกรม ลงรูปภาพและวีดีโอการใช้ชีวิตประจำวัน ตอบคอนเมนต์ด้วยน้ำเสียงมาสคอต 

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คนเชื่อว่า มาสคอตตัวนั้นไม่ใช่แค่ตัวละครสมมติที่แบรนด์สร้างมาเล่น ๆ แต่เป็นคนที่พึ่งพาได้ พร้อมจะแชร์เรื่องราวที่เกี่ยวกับแบรนด์ และไม่เกี่ยวกับแบรนด์ รวมถึงมาสคอตต้องมีความเป็นผู้นำเทรนด์ ติดตามข่าวสาร อยู่ในกระแสสังคมตลอดเวลา ซึ่งจุดนี้ต้องใช้ความเป็น Real-Time Marketing มาประกอบด้วย



นายชินโตะ โอคูกาว่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

การปั้นมาสคอตให้เป็น Brand Ambassador ไม่ใช่เรื่องง่าย ถือเป็นการลงทุนระยะยาว ที่ต้องอาศัยทั้งเวลาและความต่อเนื่องของการเล่าเรื่อง แต่เมื่อใดที่จุดกระแสติดและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าแล้ว เราจะสามารถใช้งานมาสคอตได้ตลอดไป โดยไม่ต้องใช้ Influencer ซึ่งไม่มีความเสี่ยงเรื่องการควบคุมภาพลักษณ์แต่อย่างใด เพราะแบรนด์เป็นผู้กำหนดทุกอย่างในตัวมาสคอตได้ทั้งหมด

บริษัท ควอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทในเครือ Quan inc. ผู้ออกแบบ และถือลิขสิทธิ์แชทสติกเกอร์จากประเทศญี่ปุ่น อาทิ Betakkuma Usagyunn Piyomaru ฯลฯ มียอดดาวโหลดรวมกว่า 3.5 พันล้านครั้งทั่วโลก รวมถึงให้บริการรับทำ Mascot Branding สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการพัฒนาภาพลักษณ์ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.quaninternational.com หรือโทร 02-006-7186