วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แชฟฟ์เลอร์จับมือโรเบิร์ต บ๊อช ออโตโมทีฟ สเทียริ่ง ร่วมพัฒนาและขยายตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบขับเคลื่อนล้อหลังอัจฉริยะ (iRWS)




กลุ่มบริษัท แชฟฟ์เลอร์ ผู้จำหน่ายสินค้าด้านยานยนต์และอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลกประกาศความร่วมมือกับบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช ออโตโมทีฟ สเทียริ่ง ร่วมกันพัฒนาระบบบังคับเลี้ยวล้อหลังอัจฉริยะแบบเมคคาทรอนิกส์ iRWS ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่และความปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหนือกว่า 

นายแมททิอัส ซิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายออโตโมทีฟ OEM บริษัท แชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เป้าหมายของความร่วมมือกันในครั้งนี้ของทั้งสองบริษัท เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบขับเคลื่อนล้อหลังอัจฉริยะ (iRWS) และขยายตลาดด้วยการนำเสนอโซลูชั่นแบบบูรณาการสำหรับระบบบังคับเลี้ยวล้อหลัง ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวแชฟฟ์เลอร์พร้อมนำเสนอระบบขับเคลื่อนล้อหลังอัจฉริยะแบบเมคคาทรอนิกส์ iRWS และบ๊อช ออโตโมทีฟ สเทียริ่งจะให้บริการด้านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของชุดควบคุมพวงมาลัย การรวมจุดแข็งของทั้งสองบริษัทนี้ จะทำให้เราสามารถสร้างระบบเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ให้กับกลุ่มลูกค้าของเราเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีอัจฉริยะของระบบบังคับเลี้ยวล้อหลัง ถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินทางของแชฟฟ์เลอร์ ในการเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยี ที่เลือกใช้สำหรับระบบแชสซี”

เทคโนโลยีระบบบังคับเลี้ยวล้อหลัง : วิวัฒนาการด้านเมคคาทรอนิกส์

นายเควาน คาชิ ประธานหน่วยธุรกิจระบบเมคคาทรอนิกส์ บริษัท แชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “แชฟฟ์เลอร์ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวระบบเมคคาทรอนิกส์อัจฉริยะ หรือ Active Roll Control (iARC) ในปี พ.ศ. 2558 และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้แชฟฟ์เลอร์เรียนรู้จากกระบวนการดังกล่าว ส่งตรงไปยังการพัฒนาระบบขับเคลื่อนล้อหลังอัจฉริยะแบบเมคคาทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด จากการผสมผสานความเชี่ยวชาญทางด้านเมคคาทรอนิกส์เข้ากับความสามารถหลักของเราในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์ ทำให้แชฟฟ์เลอร์สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบขับเคลื่อนล้อหลังอัจฉริยะแบบเมคคาทรอนิกส์ iRWS จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่และความปลอดภัย มอบประโยชน์หลักหลายประการในโลกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ด้วยเทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ขับขี่รถมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องการหมุนล้อหลังไปในทิศทางตรงกันข้ามกับล้อหน้า โดยจะช่วยลดรัศมีวงเลี้ยว และเพิ่มความคล่องแคล่วในพื้นที่แคบ เช่น การจอดรถในที่ที่มีคนพลุกพล่าน ยิ่งไปกว่านั้นระบบช่วยบังคับเลี้ยวของเพลาล้อหลัง ยังช่วยเพิ่มการบังคับการทรงตัว ความสะดวกสบาย และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ อีกทั้ง ระบบพวงมาลัยล้อหลังของแชฟฟ์เลอร์ใช้เทคโนโลยีที่มีน้ำหนักเบา ทำให้มีน้ำหนักรวมสูงสุดเพียงแปดกิโลกรัม หัวใจสำคัญของระบบ คือ เฟืองหลักที่ทำหน้าที่ล็อคตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าล้อหลังจะไม่เปลี่ยนทิศทางโดยที่ไม่มีแรงกระทำจากผู้ขับขี่ สกรูไดรฟ์หลักยังให้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ยิ่งไปกว่านั้น การออกแบบของระบบได้รับการปรับให้เหมาะสมที่สุด ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีเสียงรบกวนต่ำ

ชุดควบคุมระบบบังคับเลี้ยวของบ๊อซ (Bosch) รองรับการขับขี่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

ดร. สเตฟาน วาสชูล หัวหน้าชุดควบคุมระบบบังคับเลี้ยวรถยนต์ บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช ออโตโมทีฟ สเทียริ่ง กล่าวถึงความร่วมมือกับแชฟฟ์เลอร์ในครั้งนี้ว่า “ บ๊อซพร้อมนำเสนอชุดควบคุมระบบบังคับเลี้ยว ซึ่งเป็นโมดูลในตัวที่ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ การออกแบบที่ปรับขนาดได้และเป็นโมดูลพื้นฐานของฟังก์ชั่นช่วยเหลือผู้ขับขี่หลายอย่าง ในระบบบังคับเลี้ยวด้านหลังแบบใหม่ของแชฟฟ์เลอร์ ชุดควบคุมนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในรถยนต์หลายล้านคันที่ขับเคลื่อนด้วยเพลาหน้า พร้อมการรักษาความปลอดภัยของบ๊อซ เพื่อการป้องกันที่แข็งแกร่งจากการโจมตีทางไซเบอร์ ฟังก์ชั่นและการอัปเดตรองรับโดยเทคโนโลยี over-the-air (OTA) ชุดควบคุมระบบบังคับเลี้ยวรุ่นที่ 3 ของเราเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วและประสบความสำเร็จมากในตลาดระบบควบคุมพวงมาลัยเพลาหน้า และภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ เราจะใช้ความเชี่ยวชาญของเราในด้านนี้กับระบบบังคับเลี้ยวด้านหลัง ร่วมกับประสบการณ์และความรู้ทางเทคนิคในซอฟต์แวร์และสถาปัตยกรรม E / E มากมาย ซึ่งทำให้เราเป็นผู้นำในตลาดระบบควบคุมนี้ได้”

ด้วยประสบการณ์หลายทศวรรษในการพัฒนาซอฟต์แวร์และการควบคุมระบบ บ๊อซประสบความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรกับเทคโนโลยีนี้ในการใช้งานของลูกค้าเป็นจำนวนมาก รวมไปถึง ระบบสัญญาณจากเซ็นเซอร์แรงบิดที่พวงมาลัยคอนโทรลเลอร์อิเล็กทรอนิกส์ในตัวของชุดควบคุม จะคำนวณระบบช่วยบังคับเลี้ยวที่เหมาะสมที่สุด ส่งมอบคำสั่งโดยมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว นอกเหนือจากแรงบิดที่ใช้กับพวงมาลัยโดยคนขับแล้ว การคำนวณดังกล่าวยังคำนึงถึงพารามิเตอร์อื่น ๆ ของรถอีกมากมาย