ทีมวิจัยที่นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hsiao-Han Chang แห่งสถาบันชีวสารสนเทศและชีววิทยาโครงสร้าง ได้ร่วมกับ Facebook และ Harvard T.H. Chan School of Public Health เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา (รูปภาพ: National Tsing Hua University)
ซินจู๋, ไต้หวัน - (BUSINESS WIRE) - เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหวา (NTHU) ได้ริเริ่มความร่วมมือกับ Facebook และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อนำข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อศึกษาการแพร่กระจายที่เป็นไปได้ของไวรัสโคโรนาในไต้หวัน ความร่วมมือในระดับนานาชาตินี้นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hsiao-Han Chang จากสถาบันชีวสารสนเทศและชีววิทยาโครงสร้างแห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา ผลการศึกษาในเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าความเสี่ยงของการแพร่ระบาดภายในประเทศมีมากกว่าการแพร่ระบาดระยะไกลระหว่างประเทศและเมืองต่าง ๆ โดย Chang ได้แนะนำให้ประชาชนอยู่บ้านและหลีกเลี้ยงพื้นที่ที่มีการชุมนุมของผู้คนในช่วงเทศกาลวันหยุดที่กำลังจะมาถึงนี้
ทีมวิจัยที่นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hsiao-Han Chang แห่งสถาบันชีวสารสนเทศและชีววิทยาโครงสร้าง ได้ร่วมกับ Facebook และ Harvard T.H. Chan School of Public Health เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา (รูปภาพ: National Tsing Hua University)
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยังได้ต่อยอดผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง โดยนำโมเดลทางคณิตศาสตร์มาใช้วัดผลจากการสวมใส่หน้ากาก โดย Chang สนับสนุนการตัดสินใจของศูนย์บัญชาการกลางป้องกันโรคระบาด (CECC) อย่างหนักแน่นในการจัดตั้งระบบแจกจ่ายหน้ากาก เนื่องจากการป้องกันการกักตุนหน้ากากมีส่วนสำคัญในการช่วงป้องกันการระบาดของไวรัส
การใช้บิ๊กดาต้าของ Facebook กับการเคลื่อนที่ของผู้คน
ในช่วงปลายเดือนมกราคม Facebook ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้เริ่มให้ข้อมูลการเคลื่อนที่ของคนเพื่อใช้ในการศึกษาร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยชิงหวาและวิทยาลัยสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยประมาณการณ์ตัวเลขของผู้คนที่มีการเคลื่อนที่ระหว่างเมือง
การชุมนุมที่มีความเสี่ยงสูง
ทีมวิจัยของ Chang ยังพบว่าการเคลื่อนที่ภายในประเทศมีส่วนสำคัญต่อโอกาสในการระบาดของไวรัสโคโรนามากกว่าการเคลื่อนที่ระยะไกล ซึ่งขัดแย้งกับความเข้าใจในวงกว้างว่าการเดินทางระยะไกลเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่ทำให้เกิดการระบาด ซึ่งอันที่จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจำนวนของผู้ติดเชื้อและระยะเวลาในการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น ดังนั้น การไปตามสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากที่อยู่ใกล้บริเวณที่พักอาศัยจึงไม่ได้ปลอดภัยไปกว่าการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม สำหรับ Chang แล้ว สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า คือ แม้ว่าจะมีการประกาศเตือนจาก CECC เป็นระยะ ๆ นับตั้งแต่เริ่มมีโรคระบาด การเดินทางในไต้หวันกลับไม่ได้ลดลง
ทีมวิจัยยังได้ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อกระตุ้นผลจากการสวมใส่หน้ากาก โดย Chang ได้เผยว่ามีการพบว่าการแพร่กระจาย การสวมใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี และการลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อมีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัด ขณะนี้ในไต้หวันมีการผลิตหน้ากากออกมาหลายล้านชิ้นและเพื่อนำไปแจกจ่าย และนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการระบาดโดยแทบไม่ได้รับความเสียหาย
การแจกจ่ายหน้ากากตามลำดับความสำคัญ
การศึกษาโดย Chang และ Colin Worby นักชีววิทยาด้านการคำนวณจาก Broad Institute of MIT and Harvard แสดงให้เห็นว่าการสวมใส่หน้ากากอย่างถูกวิธีของคนส่วนใหญ่ช่วยลดทั้งจำนวนของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตได้อย่างมาก
พวกเขายังพบว่าเมื่อหน้ากากมีจำนวนจำกัด การแจกจ่ายให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อนช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตโดยรวม Chang กล่าวในช่วงต้นของการระบาดว่า CECC ได้เข้าควบคุมโรงงานผลิตหน้ากากในไต้หวันและจัดตั้งระบบกระจายหน้ากากเพื่อป้องกันการกว้านซื้อและกักตุน ซึ่งเป็นสองมาตรการหลักที่ช่วยให้ประเทศอยู่ในกลุ่มผู้นำในการป้องกันการระบาด