กลุ่มบริษัท “สตาร์มาร์ค”พร้อมบริษัทในเครือ นำความเชี่ยวชาญลุยช่วยเหลือสถานการณ์โควิด-19 จัดทำระบบห้องปลอดเชื้อ (Negative Pressure Room) มอบให้ ศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างพื้นที่กั้นการทำงานที่ปลอดภัยให้ทีมแพทย์และพยาบาล ใช้ดูแลผู้ติดเชื้อ และยังจับมือพันธมิตร ร่วมสร้าง “อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด19” ส่งต่อให้โรงพยาบาล 30 แห่งทั่วประเทศ ตอบโจทย์การช่วยเหลือในภาวะวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ดูแลผู้คนด้วยความยั่งยืนได้ในระยะยาว
ดร.พัฒน์ปกรณ์ ศรีสกุลภิญโญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สตาร์มาร์ค แมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เราจะได้เห็นการช่วยเหลือในแง่มุมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แน่นอนว่าสำหรับ สตาร์มาร์ค ก็ได้มีการยื่นมือเข้าช่วยเหลือสังคม ตามแคมเปญ #ส่งใจให้ทีมแพทย์ ผ่านแง่มุมของตัวเองเช่นกัน ซึ่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดครัวและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เราได้อาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มี มาถ่ายทอดเป็นงานด้านโครงสร้างที่ถนัด ด้วยการร่วมจัดทำ “ระบบห้องปลอดเชื้อ (Negative Pressure Room) สร้างพื้นที่การทำงานอย่างปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ให้ทีมแพทย์และพยาบาล ศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมส่งมอบ “อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด 19” สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ
โดยระบบห้องปลอดเชื้อเป็นโครงสร้างม่านแม่เหล็ก ทำขึ้นโดยใช้เหล็กเป็นโครงหลัก ร่วมกันกับวัสดุทดแทนอย่าง plastwood sheet ความหนา 10 มิลลิเมตร และ transparent plastic sheet จึงมีความยืดหยุ่นสูงสามารถทนต่อสภาพความร้อน ความชื้น และเชื้อรา ได้ดี ที่สำคัญคือช่วยป้องกันการแพร่กระจายของละอองฝอยต่างๆ ได้ 100% จึงช่วยจัดการความเสี่ยงของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเสริมการทำงานของศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี ทำให้ศูนย์กู้ชีพมีห้องปลอดเชื้อ ไว้ดูแลผู้ป่วยอาการสาหัส (PUI) ก่อนส่งต่อให้ Trauma Team ในขั้นต่อไป
นอกจากนี้ยังมอบ“อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด 19” คืออีกหนึ่งความช่วยเหลือจาก สตาร์มาร์ค ด้วยการใช้วัสดุพลาสติก PVC เกรดคุณภาพ ร่วมกับแผ่นพลาสติกใส เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันฉากในครั้งนี้ สตาร์มาร์ค ได้ร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ได้แก่ บ. โมเก้น (ประเทศไทย), บ. ไอดอล ซิสเทิม, บ. เอ็ชที (กรุงเทพ) เทรดดิ้ง, บ. บียอน เต็นท์, บ. นครหลวงอุตสาหกรรมพลาสติก, และ หจก. ซี.เค.อุตสาหกรรม กล่องกระดาษ พร้อมทำการส่งมอบให้กับ 30 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ได้แก่ รพ.สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19, รพ.สุราษฎร์ธานี, รพ.เจ้าพระยายามราช, รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า, รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, รพ.เสนา, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.นพรัตน์ราชธานี, รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, รพ.ประจวบคีรีขันธ์, รพ.แหลมฉบัง, รพ.มหาวิทยาลัยบูรพา, รพ.ชลบุรี, รพ.สนามชัยเขต, รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา, รพ.ย่านตาขาว, รพ.นราธิวาสราชนครินทร์, รพ.ตราด, รพ.สุราษฎร์ธานี, รพ.พระนั่งเกล้า, รพ.เจ้าพระยายมราช, รพ.บางกรวย1, รพ.เมืองปาน, รพ.อุตรดิตถ์, สหคลินิคอ้อมใหญ่รวมแพทย์, รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, รพ.สามร้อยยอด, รพ.ชัยภูมิ, รพ.ราชบุรีและ รพ.เจ้าพระยายมราช
“สถานที่สำหรับรักษาโรคระบาด นอกจากจะต้องมีความพร้อมให้แพทย์ทำงานได้สะดวกแล้ว จุดที่แบ่งแยกระว่างพื้นที่รักษาและพื้นที่ภายนอก ก็ควรมีความมั่นคง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อเนื่อง ดังนั้นฉากกั้นบานหนึ่งที่เราได้สร้างขึ้นมา จะช่วยเสริมความปลอดภัยในแง่มุมนี้ได้อย่างดี ส่วนของอุปกรณ์ป้องกันฉากกั้น ถือเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตที่พร้อมใช้งานได้ทันที รวมถึงสร้างความปลอดภัยทั้งกับแพทย์และผู้มาตรวจอย่างตรงจุด โดยหลังจากสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง เรามั่นใจว่าโครงสร้างทั้งสองจะยังได้ใช้งานในทางการแพทย์ต่อไป สามารถช่วยเหลือผู้คนด้วยความยั่งยืน (Sustainability) ได้ในระยะยาว”ดร.พัฒน์ปกรณ์ กล่าวปิดท้าย
คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย