วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Kaneka Nutrients จับมือสมาพันธ์โคเอ็นไซม์คิวเท็นนานาชาติ เตรียมจัดการประชุมวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 9 กลางปีหน้า


การประชุมจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์กซิตี้

พาซาดีนา, เท็กซัส - สมาพันธ์โคเอ็นไซม์คิวเท็นนานาชาติ (International Coenzyme Q10 Association หรือ ICQA; http://icqaproject.org/) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ด้านชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโคเอ็นไซม์คิวเท็น (CoQ10) ภารกิจหลักขององค์กรคือการยกระดับความรู้ด้านชีวเคมีพื้นฐานและพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล รวมถึงประสิทธิภาพเชิงป้องกันและรักษาของ CoQ10 ทั้งนี้ Kaneka Nutrients (www.kanekanutrients.com) ในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง ICQA รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับทางสมาพันธ์เพื่อจัดการประชุมวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์กซิตี้ ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2561

Dr. Placido Navas ประธานสมาพันธ์ ICQA กล่าวว่า "เราไม่ได้จัดการประชุมวิทยาศาสตร์ในสหรัฐมานานกว่า 10 ปีแล้ว เราจึงรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เปิดเวทีการประชุมขึ้นในสหรัฐอีกครั้ง หลังจากที่ได้จัดการประชุมวิทยาศาสตร์ครั้งล่าสุดในญี่ปุ่นและยุโรป" 

ทุกๆ 2-3 ปี นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกว่า 350 ชีวิตจะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติของสมาพันธ์ ICQA เพื่อติดตามความก้าวหน้าล่าสุดของ CoQ10 แบบทั่วไป และ CoQ10 แบบยูบิควินอล รวมถึงพบปะกับผู้คร่ำควอดในวงการจากทั่วทุกมุมโลกและสร้างความร่วมมือครั้งใหม่ระหว่างกัน

เป้าหมายสำคัญของ ICQA คือการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยในระดับสากล เพื่อยกระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงนำ CoQ10 มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและรักษาโรค และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ICQA จึงได้จัดการประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติขึ้น เพื่อนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับ CoQ10 และ CoQ10 แบบยูบิควินอล ในหัวข้อทางคลินิกหลักๆ ได้แก่ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไมโทคอนเดรียและโรคที่เกิดจากการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ โรคชรา โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงอาหารเสริมและกลไกที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคดังกล่าวได้

Dr. Navas กล่าวเสริมว่า "เช่นเดียวกับการประชุมวิทยาศาสตร์ที่เมืองโบโลญญาในปี 2558 ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ CoQ10 และ CoQ10 แบบยูบิควินอล ที่มีการพัฒนาอย่างมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ ก็จะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือกันอีกครั้งในการประชุมปีหน้า ซึ่งรวมถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย (ภาวะขาดแคลน CoQ10 ระยะเริ่มต้น) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคชรา ทั้งนี้ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการเสริมอาหารด้วย CoQ10 ได้ผลดีในผู้ป่วยโรคดังกล่าว นอกจากนี้ องค์การยาแห่งสหภาพยุโรปยังได้ขึ้นทะเบียนยูบิควินอลเป็นยากำพร้าสำหรับผู้ที่มีภาวะขาด CoQ10 ด้วย"

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการประชุมวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดของ CoQ10 แบบทั่วไป และ CoQ10 แบบยูบิควินอล สามารถเยี่ยมชมและลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ icqaproject.org 

ข้อมูลจาก: พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์